ว่านหางจระเข้





ชื่อวิทยาศาสตร์         Aloe vera L.

วงศ์                              Aloaceae

ชื่อพ้อง                         A. barbadensis Mill., A. indica Royle

ชื่ออื่น ๆ                      ว่านไฟไหม้  หางตะเข้  Aloe, Aloin, Barbados aloe, Crocodile’s tongue, Indian aloe, Jafferabad, Mediteranian aloe, Star cactus, True aloe

สารออกฤทธิ์

          ส่วนที่เป็นวุ้น : Acemannan (1,2),  aloctin A (3-6), aloenin (7), aloesin (8), aloctin (9), 8-[C-b-D-[2-0-(E)-cinnamoyl]glucopyranosyl]-2-[(R)-2-hydroxypropyl]-7-methoxy-5-methylchromone (10), mannose-6-phosphate (11), polysaccharide (12,13), sterol (14)

          ส่วนที่เป็นยางสีเหลือง : anthraquinone (9,15)

 

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่เกี่ยวกับโรคงูสวัด เริม

          1.  ฤทธิ์ต้านเริม

          มีรายงานการใช้ผลิตภัณฑ์ซึ่งมีว่านหางจระเข้เป็นส่วนประกอบ 20% รักษาเริมได้ (16)  ต่อมามีผู้ศึกษาพบว่าสารที่ออกฤทธิ์ต้านไวรัสเริมคือ anthraquinone ซึ่งเป็นส่วนประกอบของยางสีเหลือง (17,18)  แต่มีผู้รายงานว่า aloe emodin ไม่ให้ผล (19)  วุ้นว่านหางจระเข้และครีมซึ่งมีวุ้นว่านหางจระเข้ 5% ให้ผลในการรักษาผู้ป่วย 120 ราย ซึ่งเป็นเริมที่อวัยวะเพศ (20)  และพบว่า acemannan เพิ่มภูมิคุ้มกันต่อไวรัส Herpes จากไก่งวง  เมื่อผสมลงในวัคซีนไวรัส Herpes (21)  นอกจากไวรัส Herpes ว่านหางจระเข้ยังมีฤทธิ์ต้าน cytomegalovirus (22)

          2.  ฤทธิ์ลดการอักเสบ

          มีการศึกษาฤทธิ์ลดการอักเสบของใบว่านหางจระเข้ โดยใช้ส่วนต่างๆ ได้แก่ สารสกัด (23-36)  สารสกัดจะประกอบด้วยทั้งวุ้นและยางสีเหลือง มีฤทธิ์ลดการอักเสบในการทดสอบในหูหนู (24)  อุ้งเท้าหนูโดยเหนี่ยวนำในเกิดการอักเสบด้วย kaolin, carrageenan, albumin, dextran, gelatin, mustard และน้ำมันละหุ่ง (27,29)  ได้ทดลองฤทธิ์ลดการอักเสบในหนูเบาหวานซึ่งเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบด้วยเจลาติน  พบว่าสามารถยับยั้งการอักเสบและมีฤทธิ์เหมือน gibberellin ผู้วิจัยจึงเสนอแนะว่าสารออกฤทธิ์อาจเป็น gibberellin หรือสารที่มีคุณสมบัติเหมือน gibberellin (29) การศึกษาต่อมาพบว่าเมื่อใช้ร่วมกับสาร hydrocortisone-21-acetate ยิ่งเสริมฤทธิ์ลดการอักเสบของ hydrocortosone-21-acetate (30)  ผู้วิจัยกลุ่มเดียวกันได้ทำสารสกัดว่านหางจระเข้ด้วยอัลกอฮอล์ 50%  มาแยกเป็น 2 ส่วน คือส่วนที่ตกตะกอน และส่วนที่เป็นน้ำใส  พบว่าทั้ง 2 ส่วนยับยั้งการอักเสบ แต่ส่วนน้ำใสจะมีฤทธิ์ดีกว่าส่วนที่เป็นตะกอน (32,33)  การศึกษาต่อมาพบว่าสารสกัดที่กำจัด anthraquinone ออกมีฤทธิ์ลดการอักเสบดีกว่าสารสกัดที่มี anthraquinone ผสมอยู่ (28)

          การทดลองฤทธิ์ลดการอักเสบโดยใช้การทดสอบซึ่งทำให้เกิดถุงอากาศ (air sac) และฉีด carrageenan ให้เกิดการอักเสบ พบว่าเมื่อทา Aloe vera (10%) ทำให้เกิด fibroblasts เพื่อซ่อมแซมส่วนที่เกิดเป็นถุงอากาศ (33)  Shinpo และคณะ (35) ได้ทดลองใช้ขี้ผึ้งซึ่งมีว่านหางจระเข้ hydrocortisone acetate และ diphenhydramine พบว่ามีฤทธิ์ลดการอักเสบ และได้ทดลองสารสกัด ethyl acetate ในการยับยั้งการอักเสบ พบว่ามีฤทธิ์ลดการอักเสบ  การศึกษาทางเคมีทางพบว่าสารสกัดที่ให้ผลนี้มี aloenin,  barbaloin และ isobarbaloin (36)  ซึ่งได้มีผู้ศึกษามาก่อนว่า anthraquinone มีฤทธิ์ลดการอักเสบ (37)  นอกจาก anthraquinone มีผู้สกัดแยกสารออกฤทธิ์อื่นอีกได้แก่ aloesin (2,6), 8-[C-b-D-[2-O-(E)-cinnamoyl] glucopyranoysl]-2-[(R)-2-hydroxyprohyl]-7-methoxy-5-methylchromone) (10), sterol (14) และ aloenin (7,15)  อย่างไรก็ตามสารสกัดที่ไม่ได้แยก anthraquinone ออกอาจทำให้เกิดการระคายเคือง โดยมีผู้รายงานว่า aloin และ 1,8-dioxyanthraquinone ทำให้เกิดการอักเสบโดยไปเร่งให้มีการหลั่ง prostaglandin ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบ (38)  ด้วยเหตุผลดังกล่าวงานศึกษาวิจัยต่อๆมา จึงเป็นเรื่องของวุ้นว่างหางจระเข้

          การนำวุ้นว่านหางจระเข้มาใช้ในการลดการอักเสบได้มีมานานและได้มีการศึกษาพบว่ามีฤทธิ์ลดการอักเสบ (39-42)  การศึกษาพบว่าสารออกฤทธิ์ที่แยกได้จากวุ้นว่านหางจระเข้มีหลายชนิดได้แก่ acemannan (1,43), aloctin A (3-6), aloctin (9), mannose-6-phosphate (11), polysaccharide (12,13)

          กระบวนการออกฤทธิ์ของวุ้นว่านหางจระเข้มีหลายกระบวนการได้แก่

          2.1  ออกฤทธิ์ทำลาย Bradykinin

          Bradykinin เป็นสารที่ร่างกายหลั่งออกมาเมื่อเกิดการกระทบกระเทือน หรือเกิดบาดแผล มีฤทธิ์ทำให้หลอดเลือดขยายตัว ทำให้สารที่ทำให้อักเสบมาคั่งอยู่ที่บริเวณนี้  ว่านหางจระเข้มีฤทธิ์ยับยั้งการเกิด Bradykinin (41,43-45)  ซึ่งต่อมาพบว่าคือ enzyme carboxypeptidase หรือ bradykininase (41,46-51)  ซึ่งจะย่อยสลาย bradykinin ที่ทำให้เกิดการอักเสบ เอนไซม์นี้สกัดแยกได้จากการนำใบว่านหางจระเข้มาปั่น ซึ่ง Beppu และคณะ (46)  พบว่าเป็นเอนไซม์ที่อยู่ที่เปลือกของใบว่านหางจระเข้ ส่วน Yagi และคณะ (45)  พบว่าสารที่สลาย Bradykinin คือ glycoprotein ซึ่งอยู่ในส่วนของวุ้น ซึ่งต่อมามีรายงานว่า protein จากวุ้นว่านหางจระเข้มีฤทธิ์ทำลาย Bradykinin (44)

          2.2  ยับยั้งการสังเคราะห์พรอสต้าแกลนดิน

         กระบวนการลดการอักเสบที่สำคัญคือ การยับยั้งการสร้างพรอสต้าแกลนดินอี2 จาก arachidonic acid ทำให้ลดการอักเสบ (52-54)  ยับยั้ง lipoxygenase และ prostaglandin synthetase (54)  ซึ่งสารสำคัญในการออกฤทธิ์คือ aloctin A (53)  ในการเกิดอักเสบโดยเฉพาะในกรณีที่เกิดแผลต่างๆ จะมีการหลั่ง thromboxane ซึ่งเป็นสาร prostaglandin ที่ทำให้หลอดเลือดหดตัว และเกิดการจับตัวของเกร็ดเลือด เป็นผลทำให้เกิดอักเสบบริเวณที่เกิดแผล วุ้นว่านหางจระเข้มีผลยับยั้งการสร้าง thromboxane ซึ่งช่วยให้การอักเสบลดลงและเนื้อเยื่อไม่ตาย (52,55-57)  และสารออกฤทธิ์คือ glycoprotein (56)  นอกจากนี้ยังยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ cyclooxygenase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่สำคัญในการสังเคราะห์สาร prostaglandin ที่ทำให้เกิดการอักเสบ (56,58,59)  ซึ่งสารออกฤทธิ์ก็คือ glycoprotein (56)

          2.3  ยับยั้งการเกิดสารพวก cytokines ที่ทำให้เกิดการอักเสบได้แก่ TNF-alpha และ IL-6 และยังลดการเกิด leukocyte adhesion (60)  และยับยั้งการหลั่ง IL-8 (52)  การลดการอักเสบของว่านหางจระเข้ อาจเนื่องมาจาก steroid ในว่านหางจระเข้ เนื่องจากมี cholesterol, campesterol และ b-sitosterol และ lupeol ซึ่งเป็น triterpene (61,62)  นอกจากนี้ยังมีผู้พบ b-sitosterol-3-glucoside และ อนุพันธ์ 6¢-palmatate ร่วมกับ lupeol (63)  และ b-sitosterol เป็นสารซึ่งช่วยลดการอักเสบได้ (14)

          ด้วยการที่ว่านหางจระเข้มีฤทธิ์ลดการอักเสบ จึงมีการนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆ ได้แก่ ครีมทารักษาโรคผิวหนัง และแผลอักเสบ (64)  ผสมกับ lidocain และ diphenlydramine ใช้รักษาการอักเสบของผิวหนังและเนื้อเยื่ออ่อน (65) และผสมในตำรับรักษาอาการอักเสบเนื่องจาก carrageenan, histamine, 5-HT, nystatin (66)  ผสมกับ glycyrrhetinic acid รักษาการอักเสบ (67)  และยาตำรับผสมกับสมุนไพรอื่น (68)  มีการนำว่านหางจระเข้ไปรักษาสิว (69-71)  รักษาอาการอักเสบของระบบทางเดินหายใจ (72)  รักษาอาการไอ โดยฉีดสารสกัดว่านหางจระเข้เข้าหลอดลมเป็นเวลา 10 วัน พบว่าได้ผลดี (73)  และมีผู้เตรียมยาหยดแก้ไอจากโพลีแซคคาไรค์ (74)  รักษาอาการอักเสบเนื่องจากหิมะกัด (75)  รักษาอาการโรคปอดอักเสบเรื้อรัง (76)  รักษาเหงือกอักเสบ (77,78)  รักษาอาการบาดเจ็บของนักกรีฑา (79)

 

หลักฐานความเป็นพิษและการทดสอบความเป็นพิษ

          1.  การทดสอบความเป็นพิษ

          มีการรายงานการศึกษาความเป็นพิษของว่านหางจระเข้ทั้งสารสกัด และเจล  เมื่อป้อนว่านหางจระเข้ให้หนูขาวในขนาด 92.5 มก./กก. ไม่พบพิษ (80)  และเมื่อผสมผงว่านหางจระเข้ในอาหารให้หนูขาวกิน พบว่าหนูมีอาการท้องเสีย (81)  มีการทดสอบสารสกัดต่างๆ ในสัตว์ทดลอง  เมื่อผสมสารสกัดอัลกอฮอล์ (95%) ในน้ำ ให้หนูถีบจักรกินในขนาด 100 มก./กก. เป็นเวลา 3 เดือน พบว่ามีอาการพิษรวมทั้งขนร่วงและการเสื่อมของอวัยวะเพศ และเมื่อกรอกให้หนูถีบจักรกินในขนาด 3 ./กก. ไม่พบพิษ (82)  เมื่อฉีดสารสกัดว่านหางจระเข้ด้วยเอทานอลและน้ำ (1:1)  เข้าช่องท้องหนูถีบจักร ขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่งคือ > 1 ./กก. (83)  สารสกัดด้วยน้ำเมื่อฉีดเข้าช่องท้องหนูถีบจักรในขนาด 100 และ 800 มก./กก. ไม่พบพิษ และไม่มีสัตว์ตาย (84)  เมื่อฉีดสารสกัด aloe ด้วยอัลกอฮอล์ (95%) เข้าช่องท้อง ขนาดที่หนูทนได้คือ 100 มก./กก. (85)  และเมื่อให้หนูถีบจักรกินสารสกัดที่ได้จากการนำใบว่านหางจระเข้มาปั่นและทำให้เป็นผงด้วยวิธีแช่แข็ง แล้วผสมในอาหาร 1% ให้หนูขาวกิน และอีกตัวอย่างนำไปกำจัดสีก่อนทำเป็นผง แล้วไปผสมอาหาร 1% และ 10% พบว่าทำให้ parathyroid hormone และ calcitonin ลดลง แต่ระดับ glucose และ insulin ในเลือดไม่เปลี่ยนแปลง ไม่มีผลต่อ cardiac และ hepatic mitochondria และปริมาณโปรตีนไม่เปลี่ยนแปลง (86)  ผลการทดสอบในกระต่ายพบว่า เมื่อฉีดสารสกัดว่านหางจระเข้ให้กระต่ายปกติและกระต่ายที่มีอาการตับอักเสบ พบว่ากระต่ายมีอายุยืนขึ้น (87)  เมื่อให้ทิงเจอร์ยาดำทางปาก ฉีดเข้าหลอดเลือด ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง หรือฉีดเข้าช่องท้อง พบว่าในขนาดสูงทำให้กระต่ายตาย แต่ขนาดน้อยลงมีอาการท้องเสีย หัวใจเต้นช้าลง และทำให้มดลูก และลำไส้เล็กบีบตัว (88)  และเมื่อให้กระต่ายกินว่านหางจระเข้ ทำให้เกิดอักเสบที่ปากช่องคลอด และทางเดินปัสสาวะ (89)  ว่านหางจระเข้ยังทำให้เกิดอาการแพ้ (90-92)

          การศึกษาต่อมาได้มีรายงานผลของสารกลุ่ม anthraquinone ซึ่งจะออกมากับกระบวนการสกัด hydroxyanthraquinone กระตุ้นให้เกิดการขยายตัวของมะเร็ง (93)  ยาดำมีผลกระตุ้นการสังเคราะห์ prostaglandin ทำให้เกิดการอักเสบ (94)  ผู้ป่วยที่เป็นโรคดีซ่านเสียชีวิตเมื่อรับประทานยาซึ่งมียาดำ โกฐน้ำเต้า และมะขามแขก การชันสูตรพบว่าตับถูกทำลาย และมีการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อไต ม้าม หัวใจ และปอด (95)  Aloin ทำให้ท้องเสียอย่างรุนแรง (96)  และยังพบว่าเมื่อฉีด aloin เข้าใต้ผิวหนังสุนัขในขนาด 0.10 – 0.12 ./กก.  ทำให้สุนัขเป็นไข้เป็นเวลา 24 .. และ gas exchange มากกว่าปกติ 2 เท่า มีการผลิต uric acid และ urea เพิ่มขึ้น (97)  และ chromone C-glucoside ซึ่งทำให้เกิดอาเจียนอย่างรุนแรง (98)

          การศึกษาความเป็นพิษของวุ้นว่านหางจระเข้ พบว่าทั้งวุ้นสด และผลิตภัณฑ์วุ้นว่านหางจระเข้ มีค่า LD50 > 20 ./กก. เมื่อให้หนูถีบจักร และหนูขาวกิน หรือฉีดเข้าช่องท้อง ไม่พบการผิดปกติใดๆ ทั้งเคมีเลือด และเนื้อเยื่อ (99)  การให้หนูขาวกิน acemannan ซึ่งผสมในอาหาร 5% เป็นเวลา 14 วัน และให้หนูขาวกิน acemannan 2000 มก./กก./วัน ไม่พบพิษเช่นเดียวกับเมื่อให้สุนัขกิน 1,500 มก./กก./วัน เป็นเวลา 90 วัน (100)  การทดลองใช้สารละลาย acemennan (1.0 มก./มล.) ฉีดเข้าช่องท้องหนูถีบจักร 80 และ 200 มก./กก. หนูขาว 15 และ 50 มก./กก. และสุนัข 10 และ 50 มก./กก. ไม่พบพิษ (101)

          การรายงานความเป็นพิษของวุ้นว่านหางจระเข้เมื่อให้โปรตีนจากว่านหางจระเข้แก่หนูตะเภาอาจเกิดการแพ้อย่างรุนแรงได้ (102)  และการใช้ว่านหางจระเข้อาจเกิดอาการแพ้ได้ (103)  การใช้แผ่นแปะซึ่งมี acemennan จะทำให้เกิด alveolar osteitis น้อยกว่าการใช้แผ่น clindamycin (104)  และมีรายงานว่าเมื่อฉีดว่านหางจระเข้เข้าใต้ผิวหนังเกิดอาการช็อคหมดสติ ผู้ป่วยมีประวัติการแพ้ในครอบครัว (105) 

          การทดลองฉีด aloe gel 1, 4, 16, 64 มก./กก. ให้หนูขาวเป็นเวลา 42 วัน พบว่าไม่มีความผิดปกติของตับและไต (106) 

          2.  ผลต่อระบบสืบพันธุ์

          มีการศึกษาฤทธิ์ทำให้แท้งของสารสกัดว่านหางจระเข้หลายการทดลอง (107-110)  เมื่อฉีดสารสกัดว่านหางจระเข้ด้วยน้ำ อัลกอฮอล์ (95%) และปิโตรเลียมอีเธอร์เข้าช่องท้องหนูขาว พบว่าไม่ทำให้แท้ง (107)  และเมื่อป้อนสารสกัดด้วยน้ำ และอัลกอฮอล์ (95%) ให้หนูขาวก็ไม่ทำให้แท้งเช่นกัน และต่อมามีผู้รายงานว่า aloin ทำให้แท้ง (109) และสารสกัดใบว่านหางจระเข้ในขนาด 0.5 มก. ทำให้มดลูกบีบตัว

          3.  พิษต่อตัวอ่อน

          การศึกษาความเป็นพิษต่อตัวอ่อน พบว่าเมื่อให้หนูขาวกินสารสกัดว่านหางจระเข้ด้วยเบนซิน เอทานอล (50%) และคลอโรฟอร์ม ในขนาด 100 มก./กก. เป็นพิษต่อตัวอ่อน (111)  เมื่อให้สารสกัดอัลกอฮอล์และน้ำ (1:1) ในขนาด 100 และ 200 มก./กก. เป็นพิษต่อตัวอ่อนเช่นกัน (112)  ส่วนอีกการทดลองเมื่อให้หนูขาวกินสารสกัดด้วยเบนซินและอัลกอฮอล์และน้ำ (1:1) ไม่มีพิษต่อตัวอ่อน (113)  ส่วนสารสกัดด้วยน้ำ เมื่อป้อนให้หนูขาวที่ท้อง ในขนาด 125 มก./กก. มีผลต่อตัวอ่อน ทำให้พิการ (114)  และมีผู้พบว่าการรับประทานยาดำ ทำให้ทารกในท้องมีอาการท้องเสีย (115) 

          มีการทดลองนำเอาสารสกัดว่านหางจระเข้ซึ่งทำให้แห้งด้วยวิธีแช่แข็งไปใช้พบว่าไม่มีอันตรายต่อช่องคลอด (116)

          4.  ฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ และต้านการก่อกลายพันธุ์

          การศึกษาพบว่าสารสกัดว่านหางจระเข้ด้วยอัลกอฮอล์ (95%) ในขนาด 10 มคก./จานเพาะเชื้อ มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์อย่างอ่อน (117)  ส่วนสารสกัดว่านหางจระเข้ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ (118)  ต่อมามีผู้ศึกษาพบสารที่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์คือ anthraquinone glycoside (119)  และ hydroxyanthraquinone (120)

          นอกจากศึกษาฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์แล้ว ยังมีการศึกษาฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ (121) พบว่ายาชงว่านหางจระเข้ในขนาด 100 มคล./แผ่น ไม่สามารถต้านการก่อกลายพันธุ์ของ methanesulfonate ใน Salmonella typhimurium TA98 และ TA100  ต่อมาพบว่าว่านหางจระเข้มีฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์   Aloe emodin ซึ่งสกัดได้จากสารสกัดเมทานอลสามารถยับยั้งการก่อกลายพันธุ์ ใน S. typhimurium TA98 (122,123)  ส่วนสกัดที่แยกได้จากคอลัมน์โครมาโตรกราฟฟี่ในขนาด 50 มคก./จานเพาะเชื้อ สามารถต้านการก่อกลายพันธุ์ใน S. typhimurium TA 98 และ TA100 (124)  ต่อมาพบว่าสารสกัดคลอโรฟอร์ม และ di (2-ethylhexyl) phthlate มีฤทธิ์ยับยั้งการก่อกลายพันธุ์ใน S. typhimurium (125)

5.      พิษต่อเซลล์

การทดสอบความเป็นพิษของวุ้นว่านหางจระเข้ต่อเซลล์ พบว่าไม่มีผลต่อเซลล์ปกติ แต่กลับทำให้เซลล์จับตัวกัน แต่มีผลต่อเซลล์มะเร็ง human cervical ME180 (126)  ไม่มีผลต่อ Hela cell และ kidney cell (127)  มีผลต่อ C3H10 T 1/2 (128)

          นอกจากศึกษาผลของวุ้นว่านหางจระเข้ มีผู้ศึกษาผลของสารสกัดน้ำ และอัลกอฮอล์ พบว่าเป็นพิษต่อเซลล์ Sarcoma 37 (129)  และมีผู้ศึกษาสารที่อยู่ในว่านหางจระเข้พบว่า aloe emodin เป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง leukemic K562  ส่วน glycoside ไม่มีผล (130) และมีผลต่อ lymphatic leukemic cell (131)  Diethylhexylphthalate มีผลต่อเซลล์มะเร็งหลายสายพันธุ์ได้แก่ leukemic K562, HL60 และ U937 (132)  นอกจากนี้มีผู้พบว่าสารซึ่งมีน้ำหนักโมเลกุลน้อยมีผลเหมือน aloe emodin คือเป็นพิษต่อ monolayer chicken fibroblast (133)

 

          ว่านหางจระเข้ส่วนที่เป็นวุ้นช่วยรักษาเริมในผู้ป่วยได้ และยังมีฤทธิ์ลดการอักเสบอีกด้วย แม้จะมีรายงานฤทธิ์รักษาเริมและลดการอักเสบของส่วนที่เป็นยาง แต่เนื่องจากระคายเคือง และเป็นพิษ ทั้งยังมีผู้ที่แพ้ยาง จึงควรใช้ส่วนวุ้นในการรักษาเริม ข้อที่ควรระวังก็คือวุ้นว่านหางจระเข้ไม่คงตัว จึงต้องใช้สดๆ และต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ดีจึงจะได้ผล

 

เอกสารอ้างอิง

1.      Robinson M.  Medical therapy of inflammatory bowel disease for the 21st century.  Eu Surg Supplement 1998;74(582):90-8.

2.      Yagi A, Takeo S.  Anti-inflammatory constituents, aloesin and aloemannan in Aloe species and effect of tanshinon VI in Salvia miltiorrhiza on heart.  Yakugaku Zasshi 2003;123(7):517-32.

3.      Ajinomoto Co., Inc.  Aloctin A.  Patent: Jpn Kokai Tokkyo Koho JP 81 87,593 ,1979.

4.      Saito H.  Purification of active substances of Aloe arborescens Miller and their biological and pharmacological activity.  Phytother Res 1993;7:S14-9.

5.      Saito H, Ishiguro T, Imanishi K, Suzuki I.  Pharmacological studies on a plant lectin aloctin A. II. Inhibitory effect of aloctin A on experimental models of inflammation in rats.  Japan J Pharmacol 1982;32:139-42.

6.      Suzuki I.  Antiinflammatory agent.  Patent: Eur Pat Appl 25,873 ,1981.

7.      Kodym A, Grzeskowiak E, Partyka D, Marcinkowski A, Kaczynska-Dyba E.  Biopharmaceutical assessment of eye drops containing aloe (Aloe arborescens Mill.) and neomycin sulphate.  Acta Polonide Pharmaceutica 2002;59(3):181-6.

8.      Yaki A, Kabash A, Okamura N, Haraguchi H, Moustafa SM, Khlifa T.  Antioxidant, free radical scavenging and anti-inflammatory effects of aloesin derivatives in Aloe vera.  Planta Med 2002;68:957-60.

9.      Busing KH.  Hyaluronidase inhibition of some naturally occurring substances used in therapy.  Arzneimisttel-Forsch 1955;5:320-2.

10.  Hutter JA, Salman M, Stavinoha WB, et al.  Antiinflammatory C-glycosyl chromone from Aloe barbadensis.  J Nat Prod 1996;59(5):541-3.

11.  Davis RH, Donato JJ, Hartman GM, Haas RC.  Anti-inflammatory and wound healing activity of a growth substance in Aloe vera.  J Am Podiatr Med Assoc 1994a;84(2):77-81.

12.  Yagi A, Hamada K, Mihashi K, Harada N, Nishioka I.  Structure determination of polysaccharides in Aloe saponaria (Hill.) Haw. (Liliaceae).  J Pharm Sci 1984;73(1):62-5.

13.    ’t Hart LA, van den Berg AJJ, Kuis L, van Dijk H, Labadie RP.  An Anti-complementary polysaccharide with immunological adjuvant activity from the leaf parenchyma gel of Aloe vera.  Planta Med 1989;55:509-12.

14.    Davis RH, DiDonato JJ, Johnson RW, Stewart CB.  Aloe vera, hydrocortisone, and sterol influence on wound tensile strength and anti-inflammation.  J Am Podiatr Med Assoc 1994b;84(12):614-21.

15.    Nakagomi K, Oka S, Tomizuka N, Yamamoto M, Masui T, Nakazawa H.  A novel biological activity in aloe components: Effects on mast cell degranulation and piatelet aggregation.  Rep Ferment Res Inst 1935;(63):23-30.

16.    Rosenthal HR, Hert L.  Treatment of Herpes.  Patent: US Cl 424-195-1, 1964.

17.    Sydiskis RJ, Owen D, Lohr JL, Rosler KH, Blomster RN.  Inactivation of enveloped viruses by anthraquinones extracted from plants.  Antimicrob Agents Chemother 1991;35(12):2463-6.

18.    Hormann HP, Korting HC.  Evidence for efficacy and safety of topical herbal drugs in dermatogogy. Part I: Anti-inflammatory agents.  Phytomedicine 1994;1(2):161-71.

19.    Anderson DO, Weber ND, Wood SG, Hughes BG, Murray BK, North JA.  In vitro virucidal activity of selected anthraquinones and anthraquinone derivatives.  Antiviral Res 1991;16(2):185-96.

20.    Syed TA, Cheema KM, Ahmad SA, Holt Jr. AH.  Aloe vera extract 0.5% in hydrophilic cream versus Aloe vera gel for thr management of genital Herpes in males.  A placebo control.  J Eur Acad Dermatol Venereol 1996;7:294-5.

21.    Nordgren RM.  Vaccine containing acemannan as an adjuvant.  Patent: PCT Int Appl WO 93 14,195 ,1993:92pp.

22.    Saoo K, Miki H, Ohmori M, Winters WD.  Antiviral activity of aloe extracts against cytomegalovirus.  Phytother Res 10(4):348-50.

23.    Atta AH, Alkofahi A.  Anti-nociceptive and anti-inflammatory effects of some Jodanian medicinal plant extracts.  J Ethnopharmacol 1998;60:117-24.

24.    Davis RH, Leitner MG, Russo JM.  Topical anti-inflammatory activity of Aloe vera as measured by ear swelling.  J Am Podiatr Med Assoc 1987a;77(11):610-2.

25.    Davis RH, Kabbani JM, Maro NP.  Aloe vera and wound healing.  J Am Podiatr Med Assoc 1987b;4:166-9.

26.    Davis RH, Leitner MG, Russo JM.  Aloe vera, a natural approach for treating wounds, edema and pain in diabetes.  J Am Podiatr Med Assoc 1988;78(2):60-8.

27.    Davis RH, Leitner MG, Russo JM, Byrne ME.  Anti-inflammatory activity of Aloe vera against a spectrum of irritants.  J Am Podiatr Med Assoc 1989;79(6):263-76.

28.    Davis RH, Rosenthal KY, Cesario LR, Rouw GA.  Processed Aloe vera administered topically inhibits inflammation.  J Am Podiatr Med Assoc 1989;79(8):395-7.

29.    Davis RH, Maro NP.  Aloe vera and gibberallin.  Anti-inflammatory activity in diabetes.  J Am Podiatr Med Assoc 1989;79(1):24-6.

30.    Davis RH, Parker WL, Murdoch DP.  Aloe vera as a biologically active vehicle for hydrocortisone acetate.  J Am Podiatr Med Assoc 1991;81(1):1-9.

31.    Davis RH, Parker WL, Samson RT, Murdoch DP.  Isolation of a stimulatory system in an aloe extract.  J Am Podiatr Med Assoc 1991;81(9):473-8.

32.    Davis RH, Parker WL, Samson RT, Murdoch DP.  The isolation of an active inhibitory system from an extract of Aloe vera.  J Am Podiatr Med Assoc 1991;81(5):258-61.

33.    Davis RH, Stewar GJ, Bregman PJ.  Aloe vera and the inflamed synovial pouch model.  J Am Podiatr Med Assoc 1992;82(3):140-8.

34.    Magnuson JA, Waller TA.  Aloe as ingrediant.  Drug Cosmet Ind 1991;118(6):20-2.

35.    Shinpo M, Kameyama S, Tokita F.  Antiinflammatory compositions containing aloe extracts and steroids.  Patent: Japan Kokai 78 59,019 ,1978:6pp.

36.    Shimpo K, Tda C, Chihara T, Beppu H, Kaneko T, Kuzuya H.  Aloe arborescens extract inhibits TPA-induced ear oedema, putrescine increase and tumour promotion in mouse skin.  Phytother Res 2002;16(5):491-3.

37.    Davis RH, Agnew PS, Shapiro E.  Antiarthritic activiry of anthraquinones found in aloe for podiatric medicine.  J Am Podiatr Med Assoc 1986;76(2):61-6.

38.    Capasso F, Masocolo N, Autore G, Ruraccio MR.  Effect of indomethacin on aloin and 1,8-dioxyanthraquione-induced production of prostaglandins in rat isoated colon.  Prostaglandins 1983;26(4):557-62.

39.    Bowden RA.  A mannose rich extract reduces inflammation by inhibiting b(2)-integrins (Aloe vera, neutrophil, adhesion).  Diss Abstr Int, B 1998;58(7):3543.

40.    Upupa SL, Udupa AL, Kulkarni DR.  Anti-inflammatory and wound healing properties of Aloe vera.  Fitoterapia 1994;66(2):141-6.

41.    Fujita K, Teradaira R, Nagatsu T.  Bradykininase activity of aloe extract.  Biochem Pharm 1976;25:205.

42.    Davis RH.  Aloe plant for formation of wound healing.  Patent: US 5,487,899 ,1996.

43.    Bautista-Perez R, Segura-Cobos D, Vazquez-Cruz B.  In vitro antibradykinin activity of Aloe barbadensis gel.  J Ethnopharmacol 2004;93:89-92.

44.    Yagi A, Harada N, Yamada H, Iwadare S, Nishioka I.  Antibradykinin active material in Aloe saponoria.  J Pharm Sci 1982;71:1172-4.

45.    Yagi A, Hrada N, Shimomura K, Nishioka I.  Bradykinin-degrading glycoprotein in Aloe arborescens var. natalensis.  Planta Med 1987:19-21.

46.    Beppu H, Fujita K.  Isolation and the pharmacological activities of the effective compounds Aloe arborescens Mill var. natalensis Berger.  Int Congress of Phytotherapy, Seoul, Korea.  October 16-17, 1991:37.

47.    Fujita K, Ito S, Teradaira R, Beppu H.  Properties of a carboxypeptidase from aloe.  Biochem Pharmacol 1979;28(7):1261-2.

48.    Ito S, Teradaira T, Beppu H, Obata M, Nagatsu T, Fujita K.  Properties and pharmacological activity of carboxypeptidase in Aloe arborescens Mill var. natalensis Berger.  Int Congress of Phytotherapy, Seoul, Korea.  October 16-17, 1991:39.

49.    Ito S, Teradaira R, Beppu H, Obata M, Fujita K.  Biochemical properties of carboxypeptidase from Aloe arborescens Miller var. natalensis Berger.  Phytother Res 1993;7:S26-9.

50.    Obata M, Ito S, Beppu H, Nagatsu T, Fujita K.  Mechanism of anti-inflammatory and anti-thermal burn action of Aloe arborescens Mill var. natalensis Berger.  Int Congress of Phytotherapy, Seoul, Korea.  October 16-17, 1991:30.

51.    Obata M, Ito S, Beppu H, Fujita K.  Mechanism of antiinflammatory and antithermal burn action of Cpase from Aloe arborescens Miller var. natalensis Berger in rats and mice.  Phytother Res 1993;7:S30-3.

52.    Langmead L, Makins RJ, Rampton DS.  Anti-inflammatory effects of Aloe vera in human colorectal musoca in vitro.  Aliment Pharmacol Ther 2004;19(5):521-7.

53.    Ohuchi K, Watanabe M, Takahashi E, Tsurufuji S.  Lectins mudulate prostaglandin E2 production by rat peritoneal macrophasges.  Agents and Action 1984;15(3/4):419-23.

54.    Penneys NS.  Inhibition of arachidonic acid oxidation in vitro by vehicle components.  Acta Derm-Venereol 1982;62(1):59-61.

55.    Heggers JP, Robson MC, Manavalen K, et al.  Experimental and clinical observations on forstbite.  Ann Emerg Med 1987;16(9):1056-62.

56.    Yagi A, Kabash A, Mizuno K, Moustafa SM, Khalifa TI, Tsuji H.  Radical scavenging glycoprotein inhibiting cyclooxygenase-2 and thromboxane A2 synthase from Aloe vera gel.  Planta Med 2003;69:269-71.

57.    Zachary LS, David Jr JS, Herrers JP, et al.  The role of thromboxane in experimental inadvertent intra-arterial drug injections.  J Hand Surg 1987;12A(2)240-5.

58.    Lindsey KL, Jager AK, Viljoen AM.  Cyclooxygenase inhibitory activity of Aloe species.  South African J Botany 2002;68(1):47-50.

59.    Vazquez B, Avila G, Segura D, Escalante B.  Antiinflammatory activity of extracts from Aloe vera gel.  J  Ethnopharmacol 1996;55:69-75.

60.    Duansak D, Somboonwong J, Patumraj S.  Effects of Aloe vera on leukocyte adhesion and TNF-alpha and IL-6 levels in burn wounded rats.  Clin Hermorheol Microcirs 2003:29(3-4):239-46.

61.    Ando N, Yamaguchi I.  Sitosterol from Aloe vera (Aloe vera (L.) Burm. f.) gel.  Kenkyu Kiyo-Tokyo Kasei Daigaku 1990;30:15-20.

62.    Waller GR, Mangiafico S, Ritchey CR.  A chemical investigation of Aloe barbadensis Miller.  Proceeding of Oklahoma Academy of Science 1978;58:69-76.

63.    Kinoshita K, Koyama K, Takahashi K, Noguchi Y, Amano M.  Steroid glucosides from Aloe barbadensis.  J Japanese Botany 1996;71:83-6.

64.    Vajaragupta O, Thiptanasup P, Rochanaonda C, Busapawan W.  Aloe 1: Screening test for dermatological treatment.  R T A Med J 1986;39(4):223-30.

65.    Busciglio JA.  Antiinflammatory topical compositions containing lidocaine and diphenhydramine.  Patent: U.S. US 4,748,022 ,1988:5pp.

66.    Chauhan O, Godhwani JL, Khanna NK, Pendse VK.  Antiinflammatory activity of Muktashukti bhasma.  Indian J Exp Biol 1998;36(10):985-9.

67.    Lion Corp.  Topical anti-inflammatory formulations containing aloe extracts.  Patent: Jpn Kokai Tokkyo Koho JP 59 13,716 [84 13,716] ,1984:12pp.

68.    Hayashi M, Suzuki T, Asano K, et al.  Pharmacological studies on combined product of crude drug.  Poltistan: the anti-inflammatory effects and the general pharmacological studies.  Oyo Yakuri 1978;16(3):503-19.

69.    Brudner IK, Baranova LL.  Treatment of acne conglobata.  Zdravookhr Beloruss 1972;18(10):62-3.

70.    Jain A, Basal E.  Inhibition of Propionibacterium acnes-induced mediators of inflammation by Indian herbs.  Phytomedicine 2003;10(1):34-8.

71.    Orafidiya LO, Agbani EO, Oyedele AO, Babalola OO, Onayemi O, Aiyedun FF.  The effect of Aloe vera gel on the anti-acne properites of the essential oil of Ocimum gratissimum Linn leaf. – a preliminary clinical investigation.  The Inter J Aromatherapy 2004;14:15-21.

72.    Susanka F.  Therapeutical preparation for treating respiratory tract inflammations.  Patent: Austrian 172,669 ,1952.

73.    Grigor’eva IF.  Treatment of children with persistent cough and pharyngitis.  Vestn Otorinolaringol 1985;0(4):13-6.

74.    Matsui H, Matsukura T.  Cough drops containing aloe polysaccharides.  Patent: Japan Kokai 75,155,664 ,1975:3pp.

75.    McCauley RL, Heggers JP, Robson MC.  Frostbite. Methods to minimize tissue loss.  Postgrad Med 1990;88(8):67-8,73-7.

76.    Marchuk GI, Zhivoderov VM, Berbentsova AP, et al.  Biological stimulation in chronic nonspecific pulmonary diseases.  Ter Arkh 1982;54(1):31-7.

77.    Timina VA, Faustova GM.  Changes of blood serum properdin in patients with parodontosis during methyluracil (methacyl) treatment.  Stomatologiya 1971;50(2):77-9.

78.    Noskov AD.  Treatment of parodontosis by injections of aloe extract and their effect on phosphorus-calcium metabolism.  Stomatologiya 1966;15(4):13-5.

79.    Lerner FN.  Investigation of effects of proteolytic enzymes, aloe gel and iontophoresis on chronic and acute athletic injuries.  Chiropractic Sports Med 1987;1(3):106-10.

80.    Yokel RA, Ogzewalla CD.  Effects of plant ingestion in rats determined by the conditioned taste aversion procedure.  Toxicon 1981;19(2):223-32.

81.    Herlihy JT, Bertrand HA, Kim JD, Yu BP.  Effects of Aloe vera ingestion in the rat. I.   Growth food and fliud intake and serum chemistry.  Phytother Res 1998;12(3):183-8.

82.    Shah AH, Qureshi S, Tariqu M, Ageel AM.  Toxicity study on six plants use in the traditional Arab system of medicine.  Phytother Res 1989;3(1):26-9.

83.    Bhakuni DS, Dhar ML, Dhar MM, Dhawan BN, Gupta B, Srimali RC.  Screening of Indian plants for biological activity Part III.  Indian J Exp Biol 1971;9:91.

84.    Pande S, Kumar M, Kumar A.  Radioprotective efficacy of Aloe vera leaf extract.  Pharmaceutical Biol 1998;36(3):227-32.

85.    Dhar ML, Dhar MM, Dhawan BN, Mehroira BN, Ray C.  Screening of Indian plants for biological activity.  Part I.  Indian J Exp Biol 1968;6:232-47.

86.    Herlihy JT, Kim JD, Kalu DN, et al.  Effects of Aloe vera ingestion in the rat. II. Hormonal and metabolic characteristics.  Phytother Res 1998;12(5):355-60.

87.    Solov’eva VP.  Effect of aloe extract on some biochemical indicators of normal and sick persons.  Vrachebnoe Delo 1958:93-4.

88.    Stimpson HS.  Aloes socotrins.  J Am Inst Homeopathy 1926;19:101-4.

89.    Hashimoto T.  Experimental investigation of the effect aloetics on the femele genitals of the normal rabbit.  Japanese Jour Obsletr and Gynecol 1930;13(1):54-8.

90.    Dominguez-Soto L.  Photodermatitis to Aloe vera.  International Dermatology 1992;31(5):372.

91.    Gonnard P, Pelou A, Schmitt H.  Histaminic action of therapeutic tissue extract.  Ann Pharm Frang 1952;10:607-10.

92.    Morrow DM, Rapaport MJ, Strick RA.  Hypersensitivity to aloe.  Arch Dermatol 1980;116(9):1064-5.

93.    Wolfle D, Schmutte C, Westendorf J, Marquardt H.  Hydroxyanthraquinones as tumor promoters: enhancement of malignant transformation of C3H mouse fibroblasts and growth stimulaion of primary rat hepatocytes.  Cancer Res 1990;50(20):6540-4.

94.    Collier HOJ, McDonald-Gibson WJ, Saeed SA.  Stimulation of prostaglandin biosynthesis by drugs: effecs in vitro of some drugs affecting gut function.  Br J Pharmacol 1976;58(2):193-9.

95.    Gerchow J.  Poisoning with anthraquinone derivatives.  Med Monatsschr 1951;5:328-30.

96.    Schmidt L.  Pharmacology and toxicology of laxatives.  Naunyn-Schmiedebergs Archiv exptl Pathol Pharmakol 1955;26:207-18.

97.    Berrar M.  The action of aloin on the metabolism.  A contribution to the physiology of artificial gout and artificial fever.  Biochem Z 49:426.

98.    Wang W, Cuyckens F, Van den Heuvel H, et al.  Structural characterization of chromone C-glucosides in a toxic herbal remedy.  Rapid Commun Mass Spectrom 2003;17(1):49-55.

99.    Jirakulchaiwaong S, Wongkrajang Y, Bunyapraphatsara N, Atisook K.  Toxicological evaluation of fresh and preserved aloe gel.  Proceedings of a Symposium held on the Occasion of the 60th Brithday of Professor  Norman R. Farnsworh, 1990:91-7.

100. Fogleman RW, Shellenberger TE, Balmer MF, Carpenter RH, McAnalley BH.  Subchronic oral administration of acemannan in the rat and dog.  Vet Hum Toxicol 1992a;34(2):144-7.

101. Fogleman RW, Chapdelaine JM, Carpenter RH, McAnalley BH.  Toxicologic evaluation of acemannan in the mouse, rat and dog.  Vet Hum Toxicol 1992b;34(3):201-5.

102. Degtiarenko TV.  The effect of tissue preparations on the developments of anaphylaxis.  Oftalmologicheskii Zhurnal 1990;(7):428-32.

103. Hunter D, Frumkin A.  Adverse reactions to vitamin E and Aloe vera preparations after dermabrasion and chemical peel.  Cutis 1991;47(3):193-6.

104. Poor MR, Hall JE, Poor AS.  Reduction in the incidence of alveolar asteitis in patients treated with the SaliCept patch, containing acemannan hydrogel.  J Oral Maxillofac Surg 2002;60(1):374-9.

105. Trakhtenberg SB.  Anaphylactic shock after injection of aloe.  Klin Med 1970;48(1):140-1.

106. Wattanasrisin J.  Effects of Aloe vera gel on serum transaminases, BUN and creatinine levels in weanling rats.  MS Thesis, Mahidol University 1988:355-6.

107. Bharduri B, Ghese CR, Bose AN, Moza BK, Basu UP.  Antifertility activity of some medicinal plants.  Indian J Exp Biol 1968;6:252-3.

108. Prakash AO, Mathur R.  Screening of Indian plants for antifertility activity.  Indian J Exp Biol 1976;14:623-5.

109. Procrnow L.  Experimantal contribution to the study of the action of popular abortifacients.  Arch Intern Pharmacodyn 1912;21:313-9.

110. Saha JC, Savini EC, Kasinathan S.  Ecbolic properties of Indian medicinal plants.  Indian J Med Research 1961;49:130-51.

111. Goswami GS, Bokadia MM.  The effect of extracts of Aloe barbadensis leaves on the fertility of female rats.  Indian Drugs 1979;16:124-6.

112. Gupta ML, Gupta TK, Bhargava KP.  A study of antifertility effects of some indegenous drugs.  J Res Indian Med 1971;6:112-6.

113. Prakash AO, Gupta RB, Mathur R.  Effect of oral administration of forty-two indigeneous plant extracts on early and late pregnancy in albino rats.  Probe 1978;17(4):316-23.

114. Nath D, Sethi N, Singh RK, Jain AK.  Commonly used Indian abortifacient plants with special reference to their teratologic effects in rats.  J Ethnopharmacol 1992;36(2):147-54.

115. Schenkel B, Vorherr H.  Non-prescription drugs during pregnancy: Potential teratogenic and toxic effects upon embryo and fetus.  J Reprod Med 1974;12:27-45.

116. Fahim MS, Wang M.  Zinc acetate and lyophilized Aloe barbadensis as vaginal contraceptive.  Contraceptions 1996;53(4):231-6.

117. Mahmoud I, Alkofahi A, Abdelaziz A.  Mutaginic and toxic activities of several species and some Jordanian medicinal plants.  Int J Pharmacog 1992;30(2):81-5.

118. Yamamoto H, Mizutani T, Nomura H.  Studies on the mutagenicity of crude drug extracts. I.  Yakugaku Zasshi 1982;102(6):596-601.

119. Brown JP, Dietrich PS.  Mutagenicity of anthraquinone and benzanthrone derivatives in the Salmanella/microsome test: activation of anthraquinone glycosides by enzymic extracts of rat cecal bacteria.  Mutat Res 1979;66(1)9-24.

120. Westhendorf J, Marqurdt H, Poginsky B, Dominiak M, Schmidt J, Marquardt H.  Genotoxicity of naturally occurring hydroxyanthraquinoes.  Mutat Res 1990;240(1):1-12.

121. Badria FA.  Is man helpless against cancer?  Enrivomental approach:  antimutagenic agents from Egyptian food and medicinal preparations.  Cancer Lett 1994;84(1):1-5.

122. Inahara K, Nakasugi T.  Mutagen inhibitors containing aloe extracts.  Patent: Jpn Kokai Tokkyo Koho JP 07 53,397 [95 53,397] 1995;13pp.

123. Nakasugi T. Komai K.  Antimutagen of Aloe plants.  Kinki Daigaku Nogakubu Kiyo 1994;27:47-54.

124. Lee KH, Kang HG, Cho CH, Lee MJ, Lee JH, Kim CH.  Antimutagenic and antileukaemic activities of Aloe vera L.  Nat Prod Sci 2000;6(2):56-60.

125. Lee KH, Kim JH, Lim DS, Kim CH.  Antileukamic and antimutagenic effects of di (2-ethylhexyl) phthalate isolated from Aloe vera Linn.  J Pharm Pharmacol 2000;52(5):593-8.

126. Winters WD, Benavides R, Clouse WJ.  Effects of aloe extracts on human normal and tumor cells in vitro.  Economic Botany 1981;35:89-95.

127. Brasher WJ, Zimmermann ER, Collings CK.  The effects of prednisolone, indomethacin, and Aloe vera gel on tissue culture cells.  Oral Surg 1969;27:122-8.

128. Yamaguchi I, Mega N, Sanada H.  Components of the gel of Aloe vera (L.) Burm. f.  Biosci Biotechnol Biochem 1993;57(8):1350-2.

129. Belkin M, Fitzgerald DB.  Tumor-damaging capacity of plant material.  JNCI 1952;13:139-55.

130. Grimaudo S Tolomeo M, Gancitano RA, D’Slessandro N, Aiello E.  Effects of highly purified anthraquinoid compounds form Aloe vera on sensitive and multidrug-resistant leukemia cells.  Oncol Rep 1997;4(2):341-3.

131. Buttiner M, Bhakuni DS, Silva M.  Anticancer agents from Chilean plants: Cassia obtusa.  Rev Latinoam Quit 1973;4(1):8-14.

132. Lee KH, Hong HS, Lee CH, Kim CH.  Induction of apoptosis in human leukaemic cell lines K562, HL60 and U937 by diethylhexylphthalate isolated from Aloe vera Linn.  J Pharm Pharmacol 2000;52(8):1037-41.

133. Avila H, Rivero J, Herrera F, Fraile G.  Cytotoxicity of a low molecular weight fraction from Aloe vera (Aloe barbadensis Miller) gel.  Toxicon: Offcial J Inter Soc Toxicol 1997;35(9):1423-30.